สื่อ/แบบเรียน



รายวิชาบังคับ
หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
มาตรฐานที่
ระดับประถมศึกษา
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
รหัส
รายวิชา
รายวิชา
หน่วยกิต
รหัสรายวิชา
รายวิชา
หน่วยกิต
รหัสรายวิชา
รายวิชา
หน่วยกิต
สาระทักษะการเรียนรู้
1.1-1.5
ทร11001
ทักษะการเรียนรู้
5
ทร21001
ทักษะการเรียนรู้
5
ทร31001
ทักษะการเรียนรู้
5
สาระความรู้พื้นฐาน (ภาษาไทย)
2.1
พท11001
ภาษาไทย
3
พท21001
ภาษาไทย
4
พท31001
ภาษาไทย
5
สาระความรู้พื้นฐาน (ภาษาต่างประเทศ)
2.1
พต11001
ภาษาอังกฤษพื้นฐาน
3
พต21001
ภาษาอังกฤษ
ในชีวิตประจำวัน
4
พต31001
ภาษาอังกฤษเพื่อชีวิตและสังคม
5
สาระความรู้พื้นฐาน (คณิตศาสตร์)
2.2
พค11001
คณิตศาสตร์
3
พค21001
คณิตศาสตร์
4
พค31001
คณิตศาสตร์
5
สาระความรู้พื้นฐาน (วิทยาศาสตร์)
2.2
พว11001
วิทยาศาสตร์
3
พว21001
วิทยาศาสตร์
4
พว31001
วิทยาศาสตร์
5
สาระการประกอบอาชีพ
3.1
อช11001
ช่องทางการเข้าสู่อาชีพ
2
อช21001
ช่องทางการพัฒนาอาชีพ
2
อช31001
ช่องทางการขยายอาชีพ
2
3.2-3.3
อช11002
ทักษะการประกอบอาชีพ
4
อช21002
ทักษะการพัฒนาอาชีพ
4
อช31002
ทักษะการขยายอาชีพ
4
3.4
อช11003
พัฒนาอาชีพให้มีอยู่มีกิน
2
อช21003
พัฒนาอาชีพให้มีความเข้มแข็ง
2
อช31003
พัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคง
2
สาระทักษะการดำเนินชีวิต
4.1
ทช11001
เศรษฐกิจพอเพียง
1
ทช21001
เศรษฐกิจพอเพียง
1
ทช31001
เศรษฐกิจพอเพียง
1
4.2
ทช11002
สุขศึกษา          พลศึกษา
2
ทช21002
สุขศึกษา          พลศึกษา
2
ทช31003
สุขศึกษา          พลศึกษา
2
4.3
ทช11003
ศิลปศึกษา
2
ทช21003
ศิลปศึกษา
2
ทช31003
ศิลปศึกษา
2
สาระการพัฒนาสังคม
5.1
สค11001
สังคมศึกษา
3
สค21001
สังคมศึกษา
3
สค31001
สังคมศึกษา
3
5.2-5.3
สค11002
ศาสนา และ
หน้าที่พลเมือง
2
สค21002
ศาสนา และ
หน้าที่พลเมือง
2
สค31002
ศาสนา และ
หน้าที่พลเมือง
2
5.4
สค11003
การพัฒนาตนเองชุมชน สังคม
1
สค21003
การพัฒนาตนเองชุมชน สังคม
1
สค31003
การพัฒนาตนเองชุมชน สังคม
1

การส่งเสริมการรู้หนังสือ
          วันการศึกษานอกโรงเรียน เริ่มจากมติที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจากนานาชาติว่าด้วยการไม่รู้หนังสือ เมื่อปี พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) ดังกล่าวนี้ทำให้ องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) กำหนดวันที่ 8 กันยายน ของทุกปีเป็นวัน International Literacy Day
          ประเทศไทยได้เริ่มจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อการรณรงค์และระลึกถึงการรู้หนังสือมาตั้งแต่ พ.ศ. 2510 และกระทั่ง พ.ศ. 2522ได้จัดนิทรรศการ วันการศึกษานอกโรงเรียนโดยมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนให้ความร่วมมือ เพื่อเป็นการสร้างเสริมคุณลักษณะที่ดีของการเรียนรู้และกระตุ้นให้ประชาชน ได้เห็นความสำคัญของการรู้หนังสือ และการศึกษาตลอดชีวิต ด้วยเหตุนี้ และใช้กำหนด Internationnal Literacy Day เป็น วันการศึกษานอกโรงเรียน ของไทยเช่นกัน
สำหรับประเทศไทย ได้ใช้นิยามการรู้หนังสือ ดังนี้
·         การอ่านออกเขียนได้  หมายถึง ความสามารถอ่านและเขียน(อ่านน้อย) ข้อความง่าย ๆ ภาษาใดภาษาหนึ่งไ ถ้าอ่านออกอย่างเดียว แต่เขียนไม่ได้ถือว่าเป็นผู้อ่านเขียนไม่ได้ (สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานผลการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับการอ่านออกเขียนได้ของประชากร พ.ศ. 2528)
·         การอ่านออกเขียนได้ หมายถึง ความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ของบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปี ขึ้นไป  การอ่านออกเขียนได้นี้ จะเป็นภาษาใด ๆ ก็ได้ทั้งสิ้น โดยอ่านและเขียนข้อความง่าย ๆ ได้ ถ้าอ่านออกเพียงอย่างเดียว แต่เขียนไม่ได้ก็ถือว่าเป็นผู้ที่อ่านเขียนไม่ได้ (สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. รายงานการสำรวจการอ่านเขียนของประชากร พ.ศ.2537)
·         การอ่านออกเขียนได้ หมายถึง ความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ของบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป การอ่านออกเขียนได้ จะเป็นภาษาใด ๆ ก็ตามทั้งสิ้น โดยอ่านและเขียนข้อความง่าย ๆ ได้ ถ้าอ่านออกเพียงอย่างเดียวแต่เขียนไม่ได้ ก็ถือว่าเป็นผู้ที่อ่านเขียนไม่ได้ (สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ.2543, 2545)
หนังสือส่งเสริมการรู้หนังสือภาษาไทย  เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาสาระง่าย ๆ แต่กระบวนการคิด ยกร่าง และจัดทำแบบฝึกหัดค่อนข้างยากมาก เพราะต้องเป็นเนื้อหาและระดับความยากง่ายที่เหมาะสมกับผู้เรียน  รวมทั้งวิธีการสอนสำหรับกลุ่มเป้าหมายก็ต้องแตกต่างจากกลุ่มนักเรียนไทยที่พูดภาษาไทยตั้งแต่เกิด  จึงขอนำเสนอเทคนิคการสอนผู้ไม่รู้หนังสือ 5 ขั้นตอน คือ
1. สอนการฟังก่อน   จุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนสามารถจดจำเสียงต้นแบบของครู  ซึ่งครูจะออกเสียงชัดเจนและผู้เรียนจะรู้สึกคุ้นหูและสามารถจับเสียงหรือถ้อยคำที่พูดได้   ยกตัวอย่างชื่อที่ควรให้ผู้เรียนหัดฟังก่อน คือ ชื่อของครู  และมารยาทต่าง ๆ เช่น สวัสดี ขอโทษ ขอบคุณ  หรือสอนคำศัพท์พื้นฐานในชีวิตประจำวัน  เช่น นั่ง  ยืน เดิน หยุด  วิ่ง  สมุด  ดินสอ  หรือถ้าครูมีความสามารถก็อาจแต่งเป็นเพลง หรือนำเพลงเกี่ยวกับคำว่า สวัสดี ครูร้องให้ฟังก่อน ต่อมาจึงสอนให้พูด/ร้องเพลง
2. สอนฝึกหัดพูด      ต้องให้เวลาแก่ผู้เรียนในการฟังเสียงต้นแบบจากครูมากพอ เพื่อให้เด็กสามารถเลียนแบบเสียงและสามารถเปล่งเสียงเป็นคำพูดออกมาได้ เช่น  ชื่อครู  มารยาทต่าง ๆ เช่น สวัสดี  ขอบคุณ ขอโทษ  ครูอาจนำเพลง/แต่งเพลงให้ผู้เรียนร้องตาม ทำให้ผู้เรียนจดจำคำพูดและสามารถเปล่งเสียงพูด/ร้องออกมาตามครูได้
3. สอนให้หัดอ่าน  เป็นทักษะที่ค่อนข้างยาก  ต้องค่อย ๆ ฝึกเป็นระบบ และเป็นขั้นตอน คือ
·         หนึ่ง แนะนำตัวอักษร/พยัญชนะก่อน 44 ตัวอักษร ไม่ต้องสอนวันเดียว แบ่งสอนวันละ 3-5 ตัว      ดูที่ความพร้อมของผู้เรียน  แล้วครูอ่านให้ฟังก่อน 2-3 ครั้ง  หลังจากนั้นให้ผู้เรียนอ่านพร้อมกับครูทั้งชั้นจนมั่นใจว่าเด็ก/ผู้ใหญ่สามารถอ่านได้  แล้วขออาสาสมัคร 2-3 คน ออกมาอ่านพร้อมกับครูหน้าห้อง 2-3 ครั้ง   หลังจากนั้นให้เด็ก/ผู้ใหญ่อ่านทีละคน  อ่านจนครบ 44 ตัว  ครูอาจใช้วิธีสอนแบบไม่เรียงตัวตั้งแต่ ก ถึง ฮ เพื่อทดสอบว่าผู้เรียนเข้าใจตัวอักษรจริง ๆ โดยใช้วิธีสุ่มแต่ละตัวอักษรเพื่อให้ผู้เรียนออกเสียง ถ้าผู้เรียนออกเสียงถูกต้องถือว่าผู้เรียนสามารถอ่านตัวอักษรได้
·         สอง แนะนำการอ่านเป็นคำ    อาจใช้วิธีอ่านเป็นคำสอนก่อนก็ได้ เช่น คำว่า  นก  งู   หมู   ปลา ไก่    เป็ด   แล้วแยกสอนเป็นตัวพยัญชนะ ก็ได้  วิธีสอนชนิดนี้เหมาะสำหรับผู้ใหญ
·         สาม แนะนำการอ่านเป็นประโยค และอ่านเป็นเรื่อง ตามลำดับ เพื่อฝึกทักษะในการอ่านเพิ่มขึ้น
·         สี่   ตามด้วยฝึกเขียน    การเขียนควรสอนเมื่อผู้เรียนมีความพร้อมในการฟังพูดอ่านได้อย่างคล่องแคล่วก่อน จึงเริ่มสอนทักษะการเขียน เพราะทักษะการเขียนเป็นเรื่องยาก โดยเริ่มต้นฝึกเขียนจากพยัญชนะก่อน ตามด้วย สระ และวรรณยุกต์  หรือจะเริ่มฝึกเขียนจากคำก่อนอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ถ้าเป็นผู้ใหญ่ควรเริ่มฝึกเขียนจากคำก่อนเพราะผู้ใหญ่จะสนุกกับการเรียนรู้ความหมายด้วย   ต่อจากนั้นก็สอนให้เขียนเป็นประโยค และเขียนเป็นเรื่องราว
·         ห้า  สอนให้รู้จักคิดวิเคราะห์   การคิดวิเคราะห์เป็นหัวใจหลักของการรู้หนังสือ นั่นหมายถึง สามารถเข้าใจเรื่องราวที่ฟัง  เรื่องราวที่พูด  เรื่องราวที่อ่าน  เรื่องราวที่เขียน  ได้เป็นอย่างดีจึงสามารถเข้าใจความหมาย ของคำ จับใจความสำคัญของเรื่อง  รู้จักถามรู้จักตอบ รู้จักวิเคราะห์/สังเคราะห์ รู้จักตีความหมายของเรื่อง และสามารถประเมินคุณค่าของเรื่องได้
โดยแท้จริงงานจัดการศึกษาสำหรับผู้ไม่รู้หนังสือ ยังมีอีกมากมายหลายพื้นที่ที่ต้องจัดการศึกษา  แต่ถ้าหากจะกล่าวตามความเป็นจริงแล้ว ประเทศไทยยิ่งมีอัตราผู้รู้หนังสือมากขึ้นเท่าไหร่  ภารกิจงานที่จะส่งเสริมผู้ไม่รู้หนังสือก็นับวันจะยากเย็นแสนเข็ญเป็นลำดับ เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มที่เข้าถึงยาก เช่น ชาวไทยภูเขา ชาวเล  กลุ่มแรงงาน  ฯลฯ  แต่ถึงอย่างไร งานการส่งเสริมผู้ไม่รู้หนังสือเป็นภารกิจ

หนังสือรียนวิชาศิลปศึกษา ระดับประถมศึกษา
http://www.upload-thai.com/download.php?id=e3cd6cfad011237df6eca1cc5f4bb747

หนังสือเรียนทุกระดับ
http://203.172.142.8/book.html

เกร็ดความู้เรื่องอาเซียน
http://www.upload-thai.com/download.php?id=1a38159e384ed244cd465ae801a9bbe6

วิธีบันทึกเอกสารเป็นเวปเพจ

1.เปิดเอกสารที่ต้องการขึ้นมา
2.คลิกที่แท็บ File แล้วคลิกเลือกที่ Save & Send
3.ต่อมาให้คลิกเลือกที่ Change File Type
4.คลิกเลือกชนิดของไฟล์โดยคลิกเลือกที่ Single File Web Page แล้วคลิกปุ่ม Save As
5.กำหนดที่เก็บไฟล์และตั้งชื่อไฟล์ที่ช่อง File name:
6.คลิกที่ปุ่ม Change Title เพื่อจะกำหนดชื่อที่ไตเติลของเพจ(จะไม่กำหนดก็ได้ ถ้าไม่กำหนดก็ให้ผ่านไปข้อ 9)
7.จะมีหน้าต่าง Enter Text เปิดขึ้นมาให้ใส่ชื่อไตเติลเพจของคุณลงไป
8.คลิกปุ่ม OK
9.แล้วคลิกปุ่ม Save เพื่อบันทึกไฟล์
10.มาทดสอบไฟล์ให้คุณใช้ Internet Explorer เปิดไฟล์นี้ขึ้นมา จะได้ไฟล์ในรูปแบบเว็บเพจ


มารู้จักอาเซียนกันเถอะ


อาเซียนมีจุดเริ่มต้นจากสมาคมอาสา
ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504  โดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ แต่ได้ถูกยกเลิกไป

เกิดขึ้นเมื่อไหร่
เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510
  ได้มีการลงนามใน "ปฏิญญากรุงเทพ" (Bangkok Declaration)  อาเซียนได้ถือกำเนิดขึ้นโดยมีรัฐสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศ ประกอบด้วยอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความร่วมมือในการเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม วัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค และเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติ

 คำขวัญอาเซียน
"One Vision, One Identity, One Community" : " หนึ่งวิสัยทัศน์  หนึ่งเอกลักษณ์  หนึ่งประชาคม "


ตราสัญญลักษณ์
asean_564

ประกอบด้วย
          * สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลม สีขาวและสีน้ำเงิน
          * ต้นข้าว
10 ต้น มัดรวมกันไว้ หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศเป็นสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
          * สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
          * สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ และ
ความก้าวหน้า
          * สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
          * สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง

800px-flag_of_asean_svg


          ธงชาติอาเซียน มีสัญลักษณ์คือ ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
          สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
          สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
          สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
          สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
          สำหรับหลักและวิธีการประดับธงอาเซียน และธงชาติของประเทศสมาชิกอาเซียนให้ เรียงโดยเริ่มจากธงอาเซียนแล้วต่อด้วยสมาชิก 10 ประเทศ ตามลำดับอักษรชื่อประเทศดังนี้

flag-brunei-darussalam

          1. Brunei Darussalam (บรูไน ดารุสซาลาม)
          ธงชาติบรูไน ลักษณะของธงชาติมีพื้นสีเหลือง โดยมีแถบสีขาว และสีดำ พาดตามแนวทแยงมุมจากด้านคันธงจรดปลายธง ซึ่งแถบสีขาวอยู่ด้านบน แถบสีดำอยู่ด้านล่าง ขณะที่กลางธงนั้น มีตราแผ่นดินของบรูไนประทับอยู่ ซึ่งสีต่าง ๆ มีความหมาย ดังนี้
          คำอธิบาย: http://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/ann56.gifสีเหลือง หมายถึง กษัตริย์
          คำอธิบาย: http://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/ann56.gifสีขาว และสีดำ หมายถึง มุขมนตรี
          สาเหตุที่ธงชาติบรูไนใช้สีเหลืองสื่อถึงกษัตริย์นั้น เนื่องจากธงประจำพระองค์ของสุลต่านแห่งบรูไน ใช้ธงพื้นสีเหลือง


การปกครอง : สมบูรณาญาสิทธิราชย์
ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาเลาะห์
เมืองหลวง : บันดาร์เสรีเบกาวัน
ภาษาราชการ : ภาษามาเลย์, ภาษาอาหรับ
หน่วยเงินตรา : บรูไนดอลลาร์
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mofat.gov.bn

flag-cambodia 

          2. Kingdom of Cambodia (ราชอาณาจักรกัมพูชา)
          ธงชาติกัมพูชา ลักษณะผืนธงแบ่งตามแนวยาวเป็น 3 ริ้ว โดยริ้วตรงกลางจะเป็นสีแดง กว้าง 2 ส่วน มีรูปปราสาทหินนครวัดสามยอดสีขาวอยู่บริเวณกึ่งกลาง ขณะที่ริ้วด้านนอกทั้ง 2 ด้าน มีสีน้ำเงิน และกว้างริ้วละ 1 ส่วนเท่า ๆ กัน โดยสีต่าง และสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของธง มีความหมาย ดังนี้
          คำอธิบาย: http://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/ann56.gifสีน้ำเงิน หมายถึง กษัตริย์
          คำอธิบาย: http://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/ann56.gifสีแดง หมายถึง ชาติ
          คำอธิบาย: http://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/ann56.gifส่วนปราสาทนครวัดสีขาว หมายถึง สันติภาพ


การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย
ประมุข : พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี
เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ
ภาษาราชการ : ภาษาเขมร
หน่วยเงินตรา : เรียล
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mfaic.gov.kh
flag-indonesia

          3. Republic of Indonesia (สาธารณรัฐอินโดนีเซีย)
          ธงชาติอินโดนีเซีย พื้นธงแบ่งเป็นสองส่วนตามแนวนอน โดยสีต่าง ๆ ของธง มีความหมาย ดังนี้
          คำอธิบาย: http://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/ann56.gifสีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ และอิสรภาพ
          คำอธิบาย: http://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/ann56.gifสีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ยุติธรรม


การปกครอง : ระบอบสาธารณรัฐแบบประชาธิปไตย
ประมุข : พลโทซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน
เมืองหลวง : กรุงจาการ์ตา
ภาษาราชการ : ภาษาบาร์ฮาซา, ภาษาอินโดนีเซีย
หน่วยเงินตรา : รูเปียห์
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.kemlu.go.id

 
flag-lao_pdr

          4. Lao People’s Democratic Republic (สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว - สปป ลาว)
          ธงชาติลาว ลักษณะผืนธงแบ่งตามแนวยาวออกเป็น 3 ส่วน โดยแถบตรงกลางจะเป็นสีน้ำเงิน กว้าง 2 ส่วน มีพระจันทร์ทรงกลมสีขาวอยู่กึ่งกลาง ขณะที่แถบด้านนอกทั้ง 2 ด้าน มีสีแดง และกว้างริ้วละ 1 ส่วน เท่า ๆ กัน โดยสีต่าง ๆ ของธง มีความหมาย ดังนี้
          คำอธิบาย: http://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/ann56.gifสีแดง หมายถึง เลือดแห่งการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของชาวลาว
          คำอธิบาย: http://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/ann56.gifสีน้ำเงิน หมายถึง ความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ของชาติ
          คำอธิบาย: http://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/ann56.gifพระจันทร์สีขาว หมายถึงเอกภาพของ
          สาเหตุที่มีดวงจันทร์ทรงกลมอยู่ตรงกลาง เนื่องจากเพื่อเป็นสัญลักษณ์สื่อถึงดวงจันทร์ลอยเด่นเหนือลำน้ำโขง


การปกครอง : ระบอบสังคมนิยม
ประมุข : พลโทจูมมะลี ไซยะสอน
เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทน์
ภาษาราชการ : ภาษาลาว
หน่วยเงินตรา : กีบ
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mofa.gov.la

flag-malaysia
          5. Malaysia (มาเลเซีย)
          ธงชาติมาเลเซีย มีแถบสีแดงสลับสีขาวรวม 14 แถบ แต่ละแถบมีความกว้างเท่ากัน ที่มุมธงด้านคันธงมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงินกว้าง 8 ใน 14 ส่วนของผืนธงด้านกว้าง และยาวกึ่งหนึ่งของผืนธงด้านยาว ภายในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าดังกล่าว มีเครื่องหมายพระจันทร์เสี้ยว และดาว 14 แฉก ซึ่งสี และสัญลักษณ์ ต่าง ๆ มีความหมาย ดังนี้
          คำอธิบาย: http://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/ann56.gifแถบริ้วสีแดง และสีขาว ทั้ง 14 ริ้ว หมายถึง สถานะอันเสมอภาคของรัฐสมาชิกทั้ง 13 รัฐ ภายในประเทศมาเลเซีย
          คำอธิบาย: http://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/ann56.gifดาว 14 แฉก หมายถึง ความเป็นเอกภาพในหมู่รัฐดังกล่าวทั้งหมด
          คำอธิบาย: http://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/ann56.gifพระจันทร์เสี้ยว หมายถึง ศาสนาอิสลามอันเป็นศาสนาประจำชาติ
          คำอธิบาย: http://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/ann56.gifสีเหลืองในพระจันทร์เสี้ยว และดาว 14 แฉก สื่อถึง ผู้เป็นประมุขแห่งสหพันธรัฐ
          คำอธิบาย: http://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/ann56.gifสีน้ำเงิน หมายถึง ความสามัคคีของชาวมาเลเซีย


การปกครอง : สหพันธรัฐ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีเป็นประมุข
ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม มูอัซซอม ซาร์
เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์
ภาษาราชการ : ภาษามาเลย์
หน่วยเงินตรา : ริงกิต
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.kln.gov.my

flag-myanmar
          6. Republic of the Union of Myanmar (สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า)
          ธงชาติพม่า ได้แบ่งตามความยาวออกเป็น 3 ส่วน และมีความกว้างเท่า ๆ กัน โดยแต่ละส่วน มีสีที่แตกต่างกัน ไล่จากบนลงล่าง คือ สีเหลือง สีเขียว และสีแดง ขณะที่กึ่งกลางธงมีรูปดาว 5 แฉก สีขาวขนาดใหญ่ ซึ่งสี และสัญลักษณ์ ต่างๆ มีความหมาย ดังนี้
          คำอธิบาย: http://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/ann56.gifสีเขียว หมายถึง สันติภาพ ความสงบ และความอุดมสมบูรณ์ของพม่า
          คำอธิบาย: http://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/ann56.gifสีเหลือง หมายถึง ความสามัคคี
          คำอธิบาย: http://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/ann56.gifสีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ ความเข้มแข็ง เด็ดขาด
          คำอธิบาย: http://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/ann56.gifดาวสีขาว หมายถึง สหภาพอันมั่นคงเป็นเอกภาพ


การปกครอง : ระบบประธานาธิบดี
ประมุข : พลเอกเต็ง เส่ง
เมืองหลวง : นครเนปิดอร์
ภาษาราชการ : ภาษาพม่า
หน่วยเงินตรา : จั๊ต
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mofa.gov.mm

flag-philippines
          7. Republic of the Philippines (สาธารณรัฐฟิลิปปินส์)
          ธงชาติฟิลิปปินส์ ด้านต้นธงเป็นรูปสามเหลี่ยมสีขาว เป็นเครื่องหมายแทนความเสมอภาค และภราดรภาพ ซึ่งภายในสามเหลี่ยมสีขาว ประกอบด้วย ดวงอาทิตย์รัศมี 8 แฉก ล้อมด้วยดาว 5 แฉก จำนวน 3 ดวง และตั้งอยู่ตามมุมของรูปสามเหลี่ยม ซึ่งสัญลักษณ์ทั้งหมด ล้วนเป็นสีทอง ส่วนด้านที่เหลือของธง ได้แบ่งครึ่งตามความยาว โดยแถบบนมีสีน้ำเงิน และแถบล่างมีสีแดง
          ทั้งนี้ หากแถบทั้งสองสีดังกล่าว ได้มีการสลับตำแหน่งกัน คือ แถบสีแดงอยู่ด้านบน แถบสีน้ำเงินอยู่ด้านล่าง แสดงว่า ขณะนั้นประเทศฟิลิปปินส์กำลังอยู่ในภาวะสงคราม ส่วนสี และสัญลักษณ์ ต่างๆ มีความหมาย ดังนี้
          คำอธิบาย: http://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/ann56.gifสีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพ สัจจะ และความยุติธรรม
          คำอธิบาย: http://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/ann56.gifสีแดง หมายถึง ความรักชาติ และความมีคุณค่า
          คำอธิบาย: http://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/ann56.gifดวงอาทิตย์มีรัศมี 8 แฉก หมายถึง 8 จังหวัดแรกของประเทศ ที่มีความพยายาม ในการเรียกร้องเอกราชจากประเทศสเปน กระทั่งเกิดการปฏิวัติในปี พ.ศ. 2439
          คำอธิบาย: http://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/ann56.gifดาวสามดวง หมายถึง การแบ่งพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของประเทศออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ  ได้แก่ เกาะลูซอน เกาะมินดาเนา และหมู่เกาะวิสายัน


การปกครอง : สาธารณรัฐเดี่ยวระบบประธานาธิบดี
ประมุข : เบนิกโน อากีโน ที่ 3
เมืองหลวง : กรุงมะลิลา
ภาษาราชการ : ภาษาตากาล๊อก, ภาษาอังกฤษ
หน่วยเงินตรา : เปโซ
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.dfa.gov.ph

flag_singapore

          8. Republic of Singapore (สาธารณรัฐสิงคโปร์)
          ธงชาติสิงคโปร์ ประกอบด้วยแถบสองสีแบ่งครึ่งกลางธง แถบสีแดงอยู่ด้านบน แถบสีขาวอยู่ด้านล่าง ที่มุมด้านบนของคันธง เป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว ถัดจากรูปดังกล่าวมีดาว 5 แฉก  จำนวน 5 ดวง เรียงเป็นรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่า โดยรูปพระจันทร์เสี้ยว และดาว 5 แฉก ต่างมีสีขาว ซึ่งสี และสัญลักษณ์ ต่างๆ มีความหมาย ดังนี้
          คำอธิบาย: http://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/ann56.gifสีแดง หมายถึง ภราดรภาพ และความเสมอภาคของมนุษย์โดยทั่วหน้า
          คำอธิบาย: http://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/ann56.gifสีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ และความดีงามที่แพร่หลาย และคงอยู่ตลอดกาล
          คำอธิบาย: http://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/ann56.gifรูปพระจันทร์เสี้ยว ซึ่งเป็นจันทร์เสี้ยวข้างขึ้น หมายถึง ความเป็นชาติใหม่ที่ถือกำเนิดขึ้น
          คำอธิบาย: http://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/ann56.gifดาว 5 ดวง หมายถึง อุดมคติ 5 ประการของชาติ ได้แก่ ประชาธิปไตย สันติภาพ ความก้าวหน้า ความยุติธรรม และความเสมอภาค

การปกครอง : ระบบสาธารณรัฐแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุข
ประมุข : โทนี ตัน เค็ง ยัม
เมืองหลวง : สิงคโปร์
ภาษาราชการ : ภาษาอังกฤษ, ภาษาจีนกลาง, ภาษามาเลย์, ภาษาทมิฬ
หน่วยเงินตรา : ดอลล่าร์สิงคโปร์
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mfa.gov.sg

flag-thailand

          9. Kingdom of Thailand (ราชอาณาจักรไทย)
          ธงชาติไทย ประกอบด้วย 3 สีหลัก ได้แก่ สีแดง สีขาว และสีน้ำเงิน มีการแบ่งเป็นริ้วจำนวน 5 แถบ ซึ่งแถบในสุดเป็นสีน้ำเงิน ถัดมาด้านนอกทั้งด้านบน ด้านล่าง เป็นสีขาว และสีแดงตามลำดับ ทั้งนี้ แถบสีน้ำเงินมีขนาดใหญ่กว่าแถบสีอื่นเป็น 2 เท่า ส่วนสีต่าง ๆ มีความหมาย ดังนี้
          คำอธิบาย: http://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/ann56.gifสีแดง หมายถึง ชาติ
          คำอธิบาย: http://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/ann56.gifสีขาว หมายถึง ศาสนา
          คำอธิบาย: http://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/ann56.gifสีน้ำเงิน หมายถึง พระมหากษัตริย์
          อย่างไรก็ตาม มีการเรียกชื่อธงนี้ว่า ธงไตรรงค์ (ไตร = สาม, รงค์ = สี) เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ "เครื่องหมายแห่งไตรรงค์" ไว้เมื่อ พ.ศ. 2464 โดยได้นิยามความหมายของธงไตรรงค์ว่า
          คำอธิบาย: http://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/ann56.gifสีแดง หมายถึง เลือดอันยอมพลีให้แก่ชาติ
          คำอธิบาย: http://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/ann56.gifสีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์แห่งพระพุทธศาสนา และธรรมะ
          คำอธิบาย: http://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/ann56.gifสีน้ำเงิน หมายถึง สีส่วนพระองค์ขององค์พระมหากษัตริย์
          แม้นิยามดังกล่าวจะไม่ใช่คำอธิบายที่ทรงประกาศใช้อย่างเป็นทางการ แต่ทั้งสามสิ่งนี้คืออุดมการณ์รัฐที่พระองค์ทรงปลูกฝัง เพื่อให้คนไทยเกิดสำนึกความเป็นชาตินิยมมาตลอด

การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ประมุข : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร
ภาษาราชการ : ภาษาไทย
หน่วยเงินตรา : บาท
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mfa.go.th


flag-vietnam

          10. Socialist Republic of Vietnam (สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม)

          ธงชาติเวียดนาม พื้นธงเป็นสีแดงล้วน ตรงกึ่งกลางมีรูปดาว 5 แฉก สีเหลืองทอง เป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่าหมายถึงชนชั้นต่าง ๆ ในสังคมเวียดนาม คือ นักปราชญ์ ชาวนา ช่างฝีมือ พ่อค้า และทหาร ส่วนสีต่าง ๆ มีความหมาย ดังนี้
          คำอธิบาย: http://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/ann56.gifสีแดง หมายถึง การต่อสู้เพื่อกู้เอกราชของชาวเวียดนาม
          คำอธิบาย: http://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/ann56.gifสีเหลือง หมายถึง ชาวเวียดนาม
          อย่างไรก็ตาม ภายหลังการรวมชาติเวียดนามในปี พ.ศ. 2519 ความหมายในธงได้มีการอธิบายใหม่ในทางการเมืองว่า
          คำอธิบาย: http://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/ann56.gifสีแดง หมายถึง การปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพ
          คำอธิบาย: http://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/ann56.gifดาวสีทอง หมายถึง การชี้นำของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม


การปกครอง : ระบอบสังคมนิยมเวียดนาม
ประมุข : เจือง เติ๋น ซาง
เมืองหลวง : กรุงฮานอย
ภาษาราชการ : ภาษาเวียดนาม
หน่วยเงินตรา : ด่อง
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mofa.gov.vn

ถามตอบเกี่ยวกับอาเซียน
ASEAN ย่อมาจากอะไร
- Association of Southeast Asian Nations หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อาเซียนเริ่มก่อตั้งครั้งแรกประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมดกี่ประเทศ ประเทศใดบ้าง
- 5  ประเทศ  ได้แก่  อินโดนีเซีย  มาเลเซีย ฟิลิปปินส์  สิงคโปร์ และไทย
 ปัจจุบันอาเซียน ประกอบด้วยประเทศใดบ้าง
- กัมพูชา ฟิลิปปินส์ บรูไนดารุสซาลาม มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า ลาว
อาเซียน+3 ประกอบด้วยประเทศใดบ้าง
- กลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ และประเทศ จีน เกาหลีใต้ และ ญี่ปุ่น
อาเซียน+6 ประกอบด้วยประเทศใดบ้าง
- กลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ กลุ่มประเทศ+3 และประเทศออสเตรเลีย อินเดีย และนิวซีแลนด์
คำขวัญอาเซียน มีว่าอย่างไร
- หนึ่งวิสัยทัศน์, หนึ่งอัตลักษณ์, หนึ่งประชาคม (One Vision, One Identity, One Community)
3 เสาหลักของประชาคมอาเซียน ประกอบด้วยความร่วมมือด้านใดบ้าง
1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
2.
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
3.
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) ตั้งอยู่ที่ใด
- กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
อาเซียนตั้งเป้าหมายที่บรรลุประชาคมอาเซียนโดยสมบูรณ์ในปีใด
- ปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015)
กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร
- กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) คือ ธรรมนูญอาเซียนที่จะมีการวางกรอบของกฎหมายและโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการขับเคลื่อนเพื่อการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2015 (พ.ศ.2558) เพื่อให้อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาลในภูมิภาคที่มีประสิทธิภาพมีประชาชนเป็นศูนย์กลางและเคารพในกติกาการทำงานระหว่างกันมากยิ่งขึ้น




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น